การเตรียมพื้นที่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยาง
1. เป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ควรเกิน 600 เมตร
2. เป็นพื้นที่ราบหรือมี ความลาดเอียงต่ำกว่า 35 องศา ถ้าความ ลาดเอียงเกิน
15 องศา ต้องทำขั้นบันได และ ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกัน การชะล้างหน้าดิน
3. ไม่เป็นแหล่งที่มีน้ำท่วมขัง
ลักษณะดินที่เหมาะสม
1. เป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย
2. เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
3. หน้าดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร และไม่มีชั้นหินแข็งหรือดินดาน
4. ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า 1 เมตร
5. การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี
6. มีค่าความเป็นกรด ด่าง ที่เหมาะสมประมาณ 4.5 - 5.5
การวางแนวปลูก
1. การวางแนวปลูกในพื้นที่ราบ

- วางแถวหลัก ห่างจากแนวเขตสวนไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
- เล็งแนวปลูก โดยกำหนด ให้แถวหลักขวาง ทางน้ำ ไหลลดการชะล้าง และพังทลายของดิน
- ควรปลูกให้อยู่ในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก ไม่ขวางทิศทางลม
2. การวางแนวปลูกในพื้นที่ลาดเท
วางแนวปลูกตาม ขั้นบันได ให้ความกว้าง ไม่ ต่ำกว่า 1.5 เมตร
ควรทำทางระบายน้ำเป็นระยะสลับกันไป
ขั้นบันไดล่าง ๆ ควรให้มีระยะของขั้นบันไดถี่ ๆ เพื่อ ลดความรุนแรง
ของกระแสน้ำ
การวางแนวปลูก
พื้นที่ราบ
เขตปลูกยางเดิม
- ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 2.5 x 8 ม. (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3 x
7 ม. (76 ต้นต่อไร่) ขึ้นอยู่กับ ชนิดของพันธ์ยาง
- ไม่ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 4 x 5 ม. (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3.5
x 6 ม. (76 ต้นต่อไร่) ขึ้นอยู่กับ ชนิดของพันธ์ยาง
เขตปลูกยางใหม่
- ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 2.5 x 7 ม. (91 ต้นต่อไร่)
- ไม่ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 3 x 6 ม. (89 ต้นต่อไร่)
พื้นที่ลาดเทหรือพื้นที่ควนเขา
- ใช้ระยะปลูก 3 x 8 ม. (67 ต้นต่อไร่)
การเตรียมหลุมปลูก

ไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืช
ออกไห้หมด
ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ให้ขุดด้านใดด้านหนึ่ง ของไม้
ชะมบตลอดแนว โดยแยกดิน ที่ขุดเป็น 2 กอง คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง
ผึ่งแดดไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ดินแห้ง
ย่อยดินชั้นบนใส่รองก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่าง ผสมกับปุ๋ยหิน ฟอสเฟต
หลุมละ 170 กรัม ในแหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นละ 5 กก.
รองก้นหลุมร่วมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต
การขุดหลุมในพื้นที่ลาดเทหรือควนเขา เมื่อปักไม้ ชะมบ แล้วควร ขุดหลุมเยื้อง
ไปด้านในควนเล็กน้อย เมื่อปลูกยาง ไปแล้วอาจ ต้องแต่งชานเพิ่มเติม
โดยขุดดินบนควนมากลบ ด้านนอก จะทำให้ต้นยางอยู่กลาง ขั้นบันไดพอดี
ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา.
พิมพ์ครั้งที่ 1:2544
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง, การปลูกยางพารา. พิมพ์ครั้งที่
4:2545
|