ซีรูเลียม
พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง
โดย วิชิต สุวรรณปรีชา

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดิน ระหว่างแถวยางพารา หรือ
พืชประธาน ก่อประโยชน์ นานับประการ อาทิ
1. ช่วยป้องกันการชะล้างและการพังทลายของดิน
2. ช่วยควบคุมวัชพืช ทำให้ลดเวลา แรงงาน ตลอดจนค่าใช้
จ่ายในการปราบวัชพืช
3. รักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน
4. เพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน
จากความสามารถในการตรึงไนโตรเจนของ บักเตรีไรโซเบียมในปมราก และเศษซาก
พืชคลุม ซึ่งในช่วง 5 ปีแรก ปริมาณธาตุอาหารที่กลับคืนดิน ได้แก่
ไนโตรเจน ไร่ละ 30-56 กก.
ฟอสฟอรัส ไร่ละ 3-4.5 กก.
โปแตสเซียม ไร่ละ 14-21 กก.
แมกนีเซียม ไร่ละ 2.5-4.5 กก.
5. เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน
ลักษณะพันธุ์ซีรูเลียม
ลำต้น : เป็นเถาเลื้อย มีอายุหลายปี เถาแก่มีรากเป็น
ปุ่มเล็กๆ สีขาวเกือบทุกข้อ และงอกเป็นรากเมื่อ อยู่ชิดดิน
ใบ : สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบค่อนข้างหนา คล้ายใบโพธิ์
ดอก : เป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างช่อดอกในเดือน ธันวาคม
ฝัก : สีน้ำตาลเข้ม ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ
5 เซนติเมตร มีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด
เมล็ด : มีผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน จนถึงน้ำตาล น้ำหนัก 1 กก.
มีเมล็ดประมาณ 28,000 เมล็ด
การเจริญเติบโต : ขึ้นได้ดีในสภาพร่มเงามาก ช่วงแรกจะเจริญเติบโตช้า
แต่ต่อไป จะเจริญ
เติบโต และคลุมดินได้หนาแน่น และคงทนกว่าพืชคลุม ดินชนิดอื่น ทนทานต่อความ
แห้งแล้งได้ดี
โดยเฉพาะ ในท้องที่ ที่มีสภาพแห้งแล้ง และมีปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นบ่อย
จะช่วยลดความ
เสียหายที่เกิดขึ้นได้มาก
การขยายพันธุ์ :
- ใช้เมล็ดปลูก
- ใช้เถาปักชำ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากเมล็ดพืชคลุมซีรูเลียม มีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง น้ำหรือความชื้นซึ่งจำเป็น
ต่อ
การงอก ของเมล็ด จะซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก หากไม่กระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้นก่อนนำไปปลูก
อาจทำให้เมล็ดที่นำไปปลูกงอกน้อย กว่าที่ควรจะเป็น การกระตุ้นเมล็ดพืชคลุมซีรูเลียมก่อนนำไป
ปลูกมี 2 วิธี ได้แก่
1. แช่เมล็ดพันธุ์ในกรดซัลฟูริคเข้มข้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 นาน 30
นาที แล้วนำไปล้างน้ำฝึ่ง
ให้แห้งหมาดๆ
2. แช่ในน้ำอุ่น (ผสมน้ำเดือด 2 ส่วนกับน้ำเย็น 1 ส่วน) นาน 12 ชั่วโมง
แล้วน้ำเมล็ดไปผึ่งให้
แห้งหมาดๆ
ทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมา เมื่อผึ่งเมล็ดให้แห้งพอหมาดแล้ว ให้คลุกเมล็ดพันธุ์กับปุ๋ยหินฟอสเฟตก่อน
แล้วจึงนำไปปลูก
การเตรียมต้นพันธุ์แบบเถาปักชำ
เถาที่นำมาใช้ปักชำ ต้องเป็นเถาหนุ่ม ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป สังเกตได้จากที่ข้อจะมีปุ่มรากสี
ขาวหรือมีรากออกเล็กน้อย ตัดเถาท่อนละ 2 ข้อ ใส่ถุงพลาสติก และรัดปากให้แน่น
เพื่อให้เถาสด
ไม่เหี่ยวเฉา ก่อนนำไปปักชำ การปักชำ อาจใช้วิธีปักชำในถุง หรือปักชำในแปลงเพาะชำก็ได้
การปักชำในถุง
ใช้ถุงเพาะชำขนาด 2 นิ้ว X 4 นิ้ว กรอกดินผสมลงไปให้เต็ม รดน้ำให้ชุ่ม
แล้วจัดเรียงเป็นแถว
ไว้รอปักชำต่อไป ดินผสมที่กล่าวข้างต้น ใช้ดินร่วน 1 ลูกบาศก์เมตร
ผสมปุ๋ยหินฟอสเฟต ครึ่ง
กิโลกรัมคลุกเคล้าปุ๋ยและดิน ให้เข้ากันดี
จากนั้นให้นำเถาที่เตรียมไว้ ปักชำในถุงให้ส่วนข้อจมอยู่ใต้ดิน 1-2
เซนติเมตร ถุงละ 3-4 ท่อน
กดดินในถุงให้แน่นพอประมาณ จัดเรียงไว้ในที่ร่ม รดน้ำให้ชุ่ม และหมั่นรดน้ำอยู่เสมอ
ตลอดจน
ปักซ่อมเถาที่ตาย ภายในเวลาประมาณ 1 เดือน เถาที่ปักชำจะแตกรากและแตกยอดแขนงประมาณ
3-4 แขนง รอจนใบแก่ก็พร้อมนำไปปลูกลงแปลงได้
การปักชำในแปลงเพาะชำ
ให้เตรียมแปลงเพาะชำในที่ร่ม ด้วยการใช้ขี้เถ้าแกลบ ยกแปลงปลูกกว้างประมาณ
1 เมตร
หนาประมาณ 4-5 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ปักชำเถาพันธุ์ ระยะห่างประมาณ
2 นิ้ว กดขี้เถ้าแกลบ
ให้แน่นพอประมาณ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และดูแลรักษา เช่นเดียวกับการปักชำในถุง
หากฤดูปักชำ
เป็นฤดูแล้ง อาจใช้ไม่ไผ่ทำโครงหลังคาแล้วใช้พลาสติกคลุม เพื่อช่วยให้แปลงเพาะชำมีความชุ่ม
ชื้นอยู่เสมอทั้งช่วยประหยัดเวลา และน้ำได้อีกด้วย
วิธีนี้เหมาะสำหรับการเตรียมพันธุ์สำหรับใช้ปลูกในพื้นที่จำนวนมาก
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก : ต้นฤดูฝน
เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโต และเถามีความ
แข็งแรงเพียงพอก่อนเข้าฤดูแล้ง
วิธีการปลูก : พื้นที่ราบ ใช้เมล็ดหว่าน
อัตราไร่ละ 1 กก. ลงไประหว่างแถวพืชประธาน เป็นแถว
2-3 แถว แต่ละแถวห่างกัน 1 เมตร และห่างจากแถวพืชประธาน 2-3 เมตร
พื้นที่ลาดเท ขุดหลุมลึก 2-3 นิ้ว เป็นแถวเหนือระดับขั้นบันได แล้วฝังกลบเมล็ดพืชคลุมให้มิด
กรณีใช้เถาปลูก ให้ปลูกห่างกัน ประมาณ 50 เซนติเมตร
ข้อควรปฏิบัติในฤดูแล้ง : ควรทำแนวป้องไฟ
กว้าง 8 เมตร รอบๆ สวน และตลบเถาพืชคลุมใน
ระหว่างแถวพืชประธานให้ห่างจากพืชประธาน 1 เมตร
การบำรุงรักษาพืชคลุม
เพื่อเร่งพืชคลุมให้เจริญเติบโตได้เร็ว สามารถคลุมพื้นที่ได้หนาแน่น
ให้ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต
หลังจากปลูกพืชคลุม 1-2 เดือน ในอัตราไร่ละ 15 กิโลกรัม และใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร
15-15-15 ในอัตรา
ไร่ละ 15 กิโลกรัม ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
พืชคลุมซีรูเลียมให้ผลผลิตครั้งแรกได้ภายหลังการปลูกไปแล้วประมาณ 1
ปี ฝักพืชคลุม
ที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวสังเกตได้จากสีของฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
วิธีเก็บเกี่ยวให้ใช้กรรไกรตัดฝักเมล็ดพืชคลุมออกจากต้น ไม่ควรใช้วิธีดึง
หรือเด็ดออกจากต้น
เพราะอาจทำให้เถาหักเสียหายได้ จากนั้นนำฝักที่เก็บได้ไปตากแดด เพื่อช่วยให้เมล็ดกะเทาะออก
จากฝักได้ง่าย แต่ในปีแรกไม่ควรเก็บผลผลิตไปจำหน่ายทั้งหมด ควรปล่อยให้เมล็ดร่วงหล่นใน
แปลงบ้าง ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้พืชคลุมในแปลงหนาแน่นมากขึ้น
|