หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

ภารกิจหลัก
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การสวนยาง ( สกย.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีการปรับปรุง
แก้ไขในปี 2505 2518 และ 2530 รวม 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการ ให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

ภารกิจพิเศษ
ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล นอกเหนือจาก พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง แล้ว รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัว จัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรร งบประมาณ สร้าง โรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นองจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จักตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐา และราคาที่เป็นธรรม

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นทดแทนยางเก่า และส่งเสริมให้เกษตรกร ที่ไม่มียางมาก่อน ได้ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดี โดยให้ทุนสงเคราะห์รวมทั้งคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อให้มีผลผลิตและรายเพิ่มขึ้น
2. พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีเหมาะสม
3. พัฒนาระบบและกลไกลตลาดให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
4. จัดตั้งและพัฒนาองค์เกษตรกรชาวสวนยาง ให้เข้มแข็งมีศักยภาพในการพัฒนาและอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น

แหล่งรายได้
เงินทุนที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของ สกย. ตาม พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
1. เงินสงเคราะห์ ( CESS )
เก็บจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร ในอัตราที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยการอนุมัติของ คณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรากิโลกรัมละ 90 สตางค์ ( มาตรา 5 ) เงินสงเคราะห์ ที่เก็บได้แต่ละปี ไม่เกินร้อยละ 5 ให้ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร นำไปค้นคว้าวิจัยงานยาง ไม่เกินร้อยละ 10 เป็น ค่าใช้จ่าย ในการบริหาร ของ สกย. และ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85 ส่งคืน กลับสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูป ของ การช่วยเหลือทางด้านวิชาการและปัจจัยการผลิต เงินสงเคราะห์นี้จะจ่ายเพื่อการอื่นไม่ได้ ( มาตรา 18 )
2. เงินงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.1 เงินสมทบเพื่อการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะหืการทำสวนยาง( มาตรา 4 ทวิ ) และตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายปี ภายใต้แผนวิสาหกิจ สกยง
1.2 เงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์

นโยบายการดำเนินงานของ สกย.
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ( สกย. ) ได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานภายใต้แผนวิสาหกิจ เพื่อใช้ในการพัฒนาเกษตรกรชาวสนยางแบบยั่งยืน 3 ด้าน คือ
1. ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
1.1 ปลูกแทนสวนยางเก่าในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิต โดยคำนึงถึงตลาดรองรับ และส่งเสริมให้ปลูกยางพันธุ์ดีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีพื้นที่ใกล้เคียงกับการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนสวนยางเก่า
1.2 ส่งเสริม ให้เกษตรกรนำ เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยไปใช้ อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ ใน แต่ละพื้นที่ เพื่อให้ต้นยางโต ได้มาตรฐาน สามารถเปิดกรีด ได้เร็วขั้น ต้นทุน การผลิตลดลง และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
1.3 พัฒนาตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น ให้เป็นสถานที่ซื้อยางทุกประเภท ที่เกษตรกรชาวสวนยางผลิต ได้ ภายใต้การประมูลซื้อขายกันอย่างเสรี
1.4 ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก ปรับโครงสร้างการผลิต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรทฤษฎีใหม่ การเกษตรผสมผสาน เพื่อเพิ่มรายได้ และลดการเสี่ยงจากการปลูกยางเพียงอย่างเดียว โดย สกย. เป็นผู้สนับสนุนปัจจัยการผลิต

2. ด้านสังคม ประกอบด้วย
2.1 เพิ่มศักยภาพของชุมชนโดยสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมตัวเป็นกลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์ สหกรณ์กองทุนสวนยาง และชุมชนสหกรณ์ เพื่อผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานตรง กับความต้องการของตลาด มีอำนาจต่อรองจากการรวมกลุ่มกันขายผลผลิต และทำธุรกิจด้านกิจการยางร่วมกัน ระหว่างสหกรณ์กองทุนสวนยาง ชุมชนสหกรณ์ และภาคเอกชน
2.2 อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน โดยการปลูกพืชคลุม ลดการใช้สารเคมี และปรับปรุงการใช้ปุ๋ยเคมี

3. ด้านบริหารและจัดการ ประกอบด้วย
3.1 พัฒนาระบบบริหารจดการให้มีประสิทธิภาพ โดย การนำระบบบริหาร ที่เป็นสากล มาใช้เพื่อให้มี การลดต้นทุนการดำเนินงาน และเป็นที่ยอมรับของ เกษตรกรโดยทั่วไป
3.2 ปรับระบบรายได้ เพื่อให้องค์กรลดการพึ่งพา จากงบประมาณ เพิ่มศักยภาพของบุคลากร โดย การฝึกอบรม ให้มีความรู้ความสามารถและทัศนคติที่ดี เพื่อรองรับนิวัติกรรมใหม่ๆรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
3.3 ติดตามประเมินผล จัดระบบการติดตามผลการปฏิบัติงาน และระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้ในการบริหาร และติดตามความสำเร็จของ ผลการปฏิบัติงานได้ทุกโครงการ

แผนพัฒนาเกษตรกร
ภายใต้นโยบายการพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางแบบยั่งยืน สกย. ได้จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรชาวสวนยาง และสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร ในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง
2. พัฒนาประสิทธิภาพเศรษฐกิจยาง และกลไกตลาด ให้แข่งขันตลาดโลกได้
3. เพิ่มศักยภาพขององค์กรเกษตรกรและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับยางพาราให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
4. ปรับโครงสร้างการผลิตยางพาราในภาพรวม โดยคงพื้นที่ปลูกยางพารา 12 ล้านไร่ และปรับโครงสร้าง การผลิตของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยง จาการประกอบอาชีพการทำสวนยางเพียงอย่างเดียว
5. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร และ ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการผลิต
6. ปรับปรุงบทบาทการบริหาร และการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้มีรายได้สามารถเลี้ยงตัวเอง

การแบ่งส่วนบริหารองค์กร
สกย. มี สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ แบ่งการบริหารงาน ระดับฝ่าย 12 ฝ่าย และมีสำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัด ( สกย.จ.) 25 แห่ง และ สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอ ( สกย.อ. ) 49 แห่ง
ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่มีการปลูกยางพารา ครอบคลุม ภูมิภาค ต่างๆ ทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.