หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

ประวัติสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

ทศวรรษแรก (ปี 2503-2513
สร้างความเชื่อมั่นแก่ชาวสวนยาง

การดำเนินงานในทศวรรษแรก สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีสำนักงานส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ในเขตปลูกยางหนาแน่น ในภาคใต้ และภาคตะวันออก รวม 6 เขต ได้แก่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และจันทบุรี มีขุนวิจิตรพาหนการเป็นผู้อำนวยการ คนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2504 – 30 กันยายน 2508 คณะทำงานชุดแรกเป็นพนักงานที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเกษตรจำนวน 11 คนเป็นหลัก ทำงานทั้งด้านภาคสนามและการเงินการบัญชี ซึ่งพนักงานชุดแรกนี้ต่อมาได้เป็น ผอ.สกย. ถึง 3 คน คือนายณรงค์ สุจเร นายสมศักดิ์ โรหิตรัตนะ และนายเสวต ทองรมย์

หลังจากนั้นอีกประมาณ 5-6 เดือน จึงมีพนักงานด้านการเกษตรและด้านการเงินและบัญชี เข้ามาปฏิบัติงานเสริมอีก 25 คน ทำให้การสงเคราะห์ดำเนินการได้รวดเร็ว และคล่องตัวยิ่งขึ้น

collecting.jpg (7778 bytes)ด้วยความที่งานด้านการสงเคราะห์เป็นงานใหม่ของประเทศไทย การทำงานในยุคเริ่มต้นจึงประสบความลำบาก ในการทำความเข้าใจกับประชาชนพอสมควร แต่ด้วยความมุ่งมั่นและอุดมการณ์อันแรงกล้า ที่จะพลิกสถานการณ์การผลิตยางของประเทศ และนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของชาวสวนยางในขณะนั้น ทำให้เกษตรกรเข้าใจในเหตุผลและประโยชน์ที่จะได้รับในที่สุด อีกทั้งให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจเป็นอย่างสูง อย่างที่ไม่มีหน่วยงานราชการใดเคยได้รับมาก่อน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พนักงาน สกย. ต้องจดจำไว้เป็นพิเศษ คือในช่วงปี 2505 หลังจากก่อตั้ง สกย. เพียง 2 ปีเศษ ได้เกิดวาตภัยครั้งใหญ่ที่ จ. นครศรีธรรมราช ส่งผลให้ประชาชนต้องประสบความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สกย. ได้ระดมพนักงานจำนวนมาก ไปช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบภัยพิบัติอันร้ายแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พนักงาน สกย. ทั้งหมดต่างเร่งเข้าไปในพื้นที่ ระดมพลังทุ่มเทความสามารถที่มีอยู่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรผู้ประสบภัยเหล่านั้น อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย แม้ทุกคนจะทุกข์กายแต่ต่างสุขใจและภาคภูมิที่ได้ช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มกำลัง ทำให้ชื่อเสียงของ สกย. โดดเด่นขึ้นมาอยู่ในความทรงจำของชาวสวนยางพาราทั่วไป

ในช่วงปลายทศวรรษ เมื่อผู้อำนวยการคนใหม่คือ นายชุบ มุนิกานนท์ เข้ามาสานงานต่อ ราวปลายปี 2508 จึงขยายการบริการจากเขตสงเคราะห์ยาง 6 เขต เป็นสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ยางจังหวัด รวม 12 จังหวัด ในปี 2511 คือ จันทบุรี ระยอง ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้เพื่อให้การบริการเกษตรกรเป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางได้มากที่สุด

เงินที่ใช้ในการสงเคราะห์และบริหารงานของ สกย. ในทศวรรษนี้ ใช้จากเงินสงเคราะห์รับ (CESS) ทั้งหมด ซึ่งสามารถให้การสงเคราะห์ได้ปีละประมาณ 22,000-77,000 ไร่

ทศวรรษที่ 2 (ปี 2514-2523)
ยุคทองของ สกย.

จากความสำเร็จของชาวสวนยางที่ปลูกแทนรุ่น แรก ๆ ทำให้ชาวสวนยางตื่นตัวให้ความสนใจ ขอปลูกแทนในอัตราที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีอย่างรวดเร็ว เงินสงเคราะห์รับในแต่ละปี ไม่สามารถตอบสนองความต้องการชาวสวนยางได้ทัน รัฐบาลจึงกู้เงินจากธนาคารโลก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากบรรษัทพัฒนาแห่งเครือจักรภพ (CDC) 3.4 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เพื่อนำไปสมทบกับเงินสงเคราะห์รับ สำหรับใช้จ่ายในการเร่งรัดการปลูกแทนให้ได้ปีละ 132,500 ไร่ รวม 1 ล้านไร่ ในระยะเวลา 4 ปี (2520-2523)

ในช่วงทศวรรษนี้เอง ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากกระทรวงเกษตรฯ มาตั้งอยู่เลขที่ 67/25 ถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นถนนบางขุนนนท์) แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ จนกระทั่งปัจจุบัน การดำเนินการในทศวรรษนี้ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างดียิ่ง มีจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้น ตามปริมาณงานของ สกย. ที่ขยายออกไป มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเสริมการบริการและการบริหารงาน เมื่อปลายปี 2521 และมีการพัฒนางานด้านการให้การสงเคราะห์ รวมทั้งปรับปรุงระบบบริหารและบริการ เช่น การอบรมเจ้าของสวนสงเคราะห์ ขึ้นอีกหลายด้าน

ทศวรรษนี้ถือได้ว่า เป็นช่วงของการเร่งรัดงานปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้เจ้าของสวนยางมีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถให้การสงเคราะห์ได้รวมทั้งสิ้น 921,931 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92 ของเป้าหมาย และนำเงินกู้ที่เหลือไปสมทบให้การสงเคราะห์ในปี 2524

ผู้นำองค์กรหรือผู้อำนวยการ สกย. ในทศวรรษนี้มีด้วยกัน 3 ท่าน คือ ดร.พิศ ปัญยาลักษณ ( 1 ตุลาคม 2515 - 17 มกราคม 2520) ดร.กมล ชาญเลขา (1 มีนาคม 2520 - 30 กันยายน 2521) และนายณรงค์ สุจเร (1 ตุลาคม 2521 – 1 เมษายน 2533) ซึ่งเป็นพนักงานชุดแรกที่ทำงานกับ สกย.

ทศวรรษที่ 3 (ปี 2524-2533)
ยุคขยายตัวขององค์กร

tree.jpg (21721 bytes)ด้วยผลงานที่ดีเด่นในทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลเห็นความสำคัญของการปลูกแทนมากขึ้น จึงกู้เงินจากธนาคารโลก 141.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากบรรษัทพัฒนาแห่งเครือจักรภพ (CDC) 15 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง อีกเป็นครั้งที่ 2 มาสมทบกับเงินสงเคราะห์รับ สำหรับใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์ปลูกแทน โดยกำหนดเป้าหมาย 1.25 ล้านไร่ ในระยะเวลา 4 ปี (2525-2528) เพื่อให้การเร่งรัดการสงเคราะห์มีความต่อเนื่อง ปรากฏว่าสามารถให้การสงเคราะห์ได้รวม 1.20 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 96 ของเป้าหมาย และได้นำเงินกู้ที่เหลือไปสมทบให้การสงเคราะห์ในปี 2529 อีก 265,763 ไร่

การเร่งรัดการปลูกแทนที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และต้องการเร่งรัด ให้สวนยางเก่าหมดไปจากประเทศไทยโดยเร็วตามลำดับ รัฐบาลจึงได้กู้เงินเป็นครั้งที่ 3 จากธนาคารโลก 60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากบรรษัทพัฒนาแห่งเครือจักรภพ (CDC) 10 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เพื่อสมทบกับเงินสงเคราะห์รับ นำมาใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์ปลูกแทนในเป้าหมาย 1.25 ล้านไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2530-2533) ปรากฏว่าสามารถให้การสงเคราะห์ได้ 0.98 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 78 ของเป้าหมาย และได้นำเงินกู้ที่เหลือไปสมทบให้การสงเคราะห์ในปี 2534

หลังจากสิ้นสุดการเร่งรัดการปลูกแทนตามโครงการเงินกู้ในปี 2533 ทำให้มีพื้นที่ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีรวมถึง 5 ล้านไร่ ผลผลิตยางเฉลี่ยรวมของประเทศสูงเป็นไร่ละ 115 กิโลกรัม ช่วงปลายทศวรรษนี้ สกย. จึงได้รับมอบหมายภารกิจเพิ่มเติม ด้วยการขยายการปลูกยางพันธุ์ดี ไปยังพื้นที่ใหม่ที่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2532 ให้ สกย. ดำเนินการทุนสงเคราะห์ปลูกยางแก่เกษตรกรภูมิภาคนี้ ในเป้าหมาย 156,250 ไร่ ระยะเวลา 5 ปี (2532-2536) เป็นการสนับสนุนโครงการอีสานเขียวของรัฐบาลในสมัยนั้น

ด้านการบริการ สกย. จัดตั้งสำนักงานฯ จังหวัดเพิ่มขึ้นจากเดิม 12 จังหวัด อีก 4 จังหวัด ได้แก่ จ.พังงา ชุมพร ปัตตานี และขอนแก่น รวม 16 จังหวัด ส่วนสำนักงานกลาง ได้มีการขยายงานระดับฝ่ายออกเป็น 7 ฝ่าย 32 สำนักงาน และ 2 ศูนย์ มีจำนวนพนักงานถึง 2,110 คน

นอกจากนี้ สกย. ยังได้ให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบภัยธรรมชาติจากกรณีพายุ เกย์ ที่ จ. ชุมพร ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ ให้ปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2533 รวมเนื้อที่ 74,108 ไร่

ด้านความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย สกย. ให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัยที่บ้านกระทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2531 โดยแบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกอพยพครอบครัวเกษตรกรจำนวน 141 ครอบครัว ไปตั้งถิ่นฐานปลูกยางที่ ต.ดินอุดม กิ่ง อ.ลำทับ จ.กระบี่ และกลุ่มที่ 2 อพยพเกษตรกรจำนวน 168 ครอบครัว ไปปลูกยางที่นิคมสร้างตนเองควนกาหลง อ.ควนกาหลง จ.สตูล ซึ่งเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย 1 ไร่ และปลูกยาง 14 ไร่ โดย สกย. ให้การสงเคราะห์แบบให้เปล่า 2 ปีครึ่ง และหลังจากนั้นเกษตรกรต้องกู้เงินจากแหล่งอื่นมาดำเนินการต่ออีก 5 ปี จนครบ 7 ปีครึ่ง ส่วน สกย. ยังคงให้การสนับสนุนด้านวิชาการตลอดระยะการสงเคราะห์

อนึ่งในช่วงปลายทศวรรษ สกย. ยังดำเนินโครงการ สินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพาราแทนมันสำปะหลัง (Agricultural Credit Project For Seasonal Lending and Rubber Planting) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ภายใต้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากกลุ่มประชาคมยุโรป (EU) โดย สกย. ให้บริการตรวจสวนและให้ความรุ้ทางด้านวิชาการแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีเป้าหมายปลูกยางทดแทนมันสำปะหลังในภาคตะวันออก จำนวน 96,230 ไร่ ระยะเวลา 5 ปี (2530-2534)

ผู้อำนวยการในทศวรรษนี้ได้แก่ นายณรงค์ สุจเร (1 ตุลาคม 2521 – 1 เมษายน 2533) และนายพาสกร จรูญรัตน์ (1 ตุลาคม 2534 – 30 กันยายน 2537)

ทศวรรษที่ 4 ( ปี 2534-ปัจจุบัน)
ทศวรรษแห่งการพัฒนา

กาลเวลาได้เดินผ่านพ้นไป 3 ทศวรรษ แต่สิ่งที่ยังคงดำรงอยู่ในทศวรรษที่ 4 และจะดำเนินอย่างต่อเนื่องคือ การให้การสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรภายใต้ปณิธาน “ผลผลิตเพิ่มหลายเท่าตัว ยังประโยชน์สุขต่อเกษตรกร อีกทั้งเพิ่มพลังเศรษฐกิจของชาติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จึงมุ่งช่วยปลูกแทนด้วยพืชพันธุ์ดี”

ผลการปลูกแทนในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลผลิตยางพารารวมทั้งประเทศสูงขึ้นจนเป็นประเทศที่มีผลผลิตยางธรรมชาติและส่งออกอันดับ 1 ของโลก แต่ปัญหาและอุปสรรคที่ สกย. พบเห็นคือรายได้ของเจ้าของสวนยางลดน้อยลงไปกว่าที่ควรจะได้รับ และจะต้องรีบเร่งขจัด การกรีดยางไม่ถูกวิธี ขาดการบำรุงรักษาสวนยางที่ดี และความไม่มีเสถียรภาพทางด้านราคา

ทศวรรษที่ 4 สกย. จึงมุ่งเน้นการแก้ปัญหาดังกล่าว นอกเหนือจากการเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้มากขึ้นด้วยการลดต้นทุนการผลิตลงเช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีการกรีดที่ถูกหลักวิชาการ ให้กับเจ้าของสวนสงเคราะห์   เพราะวิธีการกรีดเปลือกของลำต้นอย่างถูกหลักวิชาการเท่านั้น ที่ช่วยเพิ่มระยะเวลากรีดให้เก็บผลผลิตได้นานยิ่งขึ้นและคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

ส่วนเสถียรภาพด้านราคายาง สกย. ได้ดำเนินการเปิดตลาดประมูลยางพาราระดับท้องถิ่น ให้เกษตรกรมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม และใช้เป็นจุดแทรกแซงตลาดยางพาราในช่วงที่ราคาตกต่ำ ตามที่รัฐบาลมอบหมาย กระจายทั่วทุกพื้นที่ปลูกยางหนาแน่น

kea.jpg (19633 bytes)ส่วนการพัฒนาเจ้าของสวนสงเคราะห์   ซึ่งเป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่ สกย. ดำเนินการเพื่อสนับสนุนโครงการสงเคราะห์ปลูกยาง ได้แก่ สนับสนุนให้ชาวสวนยางพาราเกิดการรวมเป็นกลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์ ร่วมกันผลิตยางแผ่นคุณภาพดี เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางต่อไป พร้อมกันนี้ สกย. ได้จัดสร้างโรงอบ/รมยาง ให้สมาชิกเข้าไปดำเนินธุรกิจระบบสหกรณ์ในรูปของการผลิตยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นดิบหรือขายน้ำยางสด ตลอดจนสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี พร้อมอุปกรณ์ให้กลุ่มชาวสวนยางที่มีปริมาณน้ำยาง รวมไม่เพียงพอต่อการสร้างเป็นโรงอบ/รมยาง เป็นการยกระดับผลผลิตยางพาราของประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตรงกับความต้องการของตลาด และระบบสหกรณ์ยังช่วยให้มีอำนาจต่อรองด้านราคา อีกทั้งยังสร้างคลังสินค้ามาตรฐานสำหรับเก็บยางพารา ขนาดบรรจุ 940 และ 1,000 ตัน จำนวน 31 แห่ง

ระหว่างทศวรรษนี้ ปาล์มน้ำมันได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่งรัฐบาลจึงมอบหมายให้ สกย. ปลูกแทนยางเก่าด้วยปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี อันเป็นมาตรการหนึ่งในนโยบายแก้ปัญหาราคายางตกต่ำระยะยาว ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจร ปี 2542-2546 ที่กำหนดให้ลดพื้นที่ปลูกยาง 3 แสนไร่ และให้ปลูกทดแทนด้วยเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า

ด้วยศักยภาพที่พนักงาน สกย. มีอยู่ ปี 2536-2537 รัฐบาลจึงมอบหมายให้ สกย. ให้ดำเนินการสำรวจรังวัดที่ดินเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ร่วมกับ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ในพื้นที่ภาคใต้เพื่อให้เกษตรกรมีที่ทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายได้เร็วขึ้น ตลอดจนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำเนินการลดพื้นที่ปลูกกาแฟ และพริกไทยเพื่อแก้ปัญหาราคาตกต่ำโดยให้ปลูกไม้ยืนต้นอื่นทดแทน เป็นผลให้ราคากาแฟและพริกไทยสูงขึ้นทันทีที่เริ่มโครงการ

อีกมาตรการหนึ่งที่ สกย. มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่สวนสงเคราะห์ยังไม่ได้รับผลผลิต คือ จัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพเสริม ให้เกษตรกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3 รายละไม่เกิน 3 หมื่นบาท

ช่วงกลางทศวรรษ เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สกย. ได้จัดโครงการรวมใจชาวสวนยางเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีโดยถ้วนทั่ว

และในปี 2542 อันเป็นช่วงที่ประเทศประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนส่วนหนึ่งต้องย้ายกลับภูมิลำเนา สกย. ได้ร่วมกับกรมการจัดหางานและกรมประชาสงเคราะห์ จัดโครงการฝึกอาชีพกรีดยางพาราขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแก่ผู้ว่างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้อำนวยการ สกย. ในทศวรรษนี้ มี 5 ท่านด้วยกัน ได้แก่ นายสมศักดิ์ โรหิตรัตนะ(1 ตุลาคม 2537 – 30 กันยายน 2538) นายเสวต ทองรมย์ (1 ตุลาคม 2538 – 30 กันยายน 2539) นางจำนูญ ฐิตะฐาน (1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2540) นายโสภณ วัชรสินธุ์ (1ตุลาคม 2540 – 13 กันยายน 2542)

และนางสาวผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงผู้อำนวยการคนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2542 จนถึงปัจจุบัน

รอยต่อระหว่างทศวรรษ

ปี 2542 อันเป็นปีสุดท้ายก่อนก้าวขึ้นสู่ทศวรรษใหม่ นับเป็นหนึ่งของประวัติศาสตร์ยางพาราไทย ที่ยางพาราได้เข้ามาตั้งรากฐานจนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศครบ 100 ปี และเป็นปีมหามงคลเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา หรือ 6 รอบ สกย. ได้มีกิจกรรมปลูกไม้ป่าในสวนยางเพื่อเพิ่มไม้ใช้สอย คาดว่าจะมีไม้ป่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 ล้านต้น ซึ่งจะช่วยลดการบุกรุกพื้นที่ป่าได้เป็นอย่างดี อันเป็นการช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติอีกทางหนึ่ง สอดคล้องกับพระราชดำริของพระองค์ท่าน และจะเป็นก้าวใหม่อีกก้าวหนึ่งของ สกย. ในทศวรรษต่อไป

ดำเนินการเปิดตลาดประมูลยางพาราระดับท้องถิ่น ให้เกษตรกรมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม และใช้เป็นจุดแทรกแซงตลาดยางพาราในช่วงที่ราคาตกต่ำ ตามที่รัฐบาลมอบหมาย กระจายทั่วทุกพื้นที่ปลูกยางหนาแน่น

kea.jpg (19633 bytes)ส่วนการพัฒนาเจ้าของสวนสงเคราะห์   ซึ่งเป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่ สกย. ดำเนินการเพื่อสนับสนุนโครงการสงเคราะห์ปลูกยาง ได้แก่ สนับสนุนให้ชาวสวนยางพาราเกิดการรวมเป็นกลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์ ร่วมกันผลิตยางแผ่นคุณภาพดี เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางต่อไป พร้อมกันนี้ สกย. ได้จัดสร้างโรงอบ/รมยาง ให้สมาชิกเข้าไปดำเนินธุรกิจระบบสหกรณ์ในรูปของการผลิตยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นดิบหรือขายน้ำยางสด ตลอดจนสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี พร้อมอุปกรณ์ให้กลุ่มชาวสวนยางที่มีปริมาณน้ำยาง รวมไม่เพียงพอต่อการสร้างเป็นโรงอบ/รมยาง เป็นการยกระดับผลผลิตยางพาราของประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตรงกับความต้องการของตลาด และระบบสหกรณ์ยังช่วยให้มีอำนาจต่อรองด้านราคา อีกทั้งยังสร้างคลังสินค้ามาตรฐานสำหรับเก็บยางพารา ขนาดบรรจุ 940 และ 1,000 ตัน จำนวน 31 แห่ง

ระหว่างทศวรรษนี้ ปาล์มน้ำมันได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่งรัฐบาลจึงมอบหมายให้ สกย. ปลูกแทนยางเก่าด้วยปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี อันเป็นมาตรการหนึ่งในนโยบายแก้ปัญหาราคายางตกต่ำระยะยาว ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจร ปี 2542-2546 ที่กำหนดให้ลดพื้นที่ปลูกยาง 3 แสนไร่ และให้ปลูกทดแทนด้วยเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า

ด้วยศักยภาพที่พนักงาน สกย. มีอยู่ ปี 2536-2537 รัฐบาลจึงมอบหมายให้ สกย. ให้ดำเนินการสำรวจรังวัดที่ดินเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ร่วมกับ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ในพื้นที่ภาคใต้เพื่อให้เกษตรกรมีที่ทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายได้เร็วขึ้น ตลอดจนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำเนินการลดพื้นที่ปลูกกาแฟ และพริกไทยเพื่อแก้ปัญหาราคาตกต่ำโดยให้ปลูกไม้ยืนต้นอื่นทดแทน เป็นผลให้ราคากาแฟและพริกไทยสูงขึ้นทันทีที่เริ่มโครงการ

อีกมาตรการหนึ่งที่ สกย. มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่สวนสงเคราะห์ยังไม่ได้รับผลผลิต คือ จัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพเสริม ให้เกษตรกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3 รายละไม่เกิน 3 หมื่นบาท

ช่วงกลางทศวรรษ เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สกย. ได้จัดโครงการรวมใจชาวสวนยางเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีโดยถ้วนทั่ว

และในปี 2542 อันเป็นช่วงที่ประเทศประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนส่วนหนึ่งต้องย้ายกลับภูมิลำเนา สกย. ได้ร่วมกับกรมการจัดหางานและกรมประชาสงเคราะห์ จัดโครงการฝึกอาชีพกรีดยางพาราขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแก่ผู้ว่างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้อำนวยการ สกย. ในทศวรรษนี้ มี 5 ท่านด้วยกัน ได้แก่ นายสมศักดิ์ โรหิตรัตนะ(1 ตุลาคม 2537 – 30 กันยายน 2538) นายเสวต ทองรมย์ (1 ตุลาคม 2538 – 30 กันยายน 2539) นางจำนูญ ฐิตะฐาน (1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2540) นายโสภณ วัชรสินธุ์ (1ตุลาคม 2540 – 13 กันยายน 2542)

และนางสาวผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงผู้อำนวยการคนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2542 จนถึงปัจจุบัน

รอยต่อระหว่างทศวรรษ

ปี 2542 อันเป็นปีสุดท้ายก่อนก้าวขึ้นสู่ทศวรรษใหม่ นับเป็นหนึ่งของประวัติศาสตร์ยางพาราไทย ที่ยางพาราได้เข้ามาตั้งรากฐานจนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศครบ 100 ปี และเป็นปีมหามงคลเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา หรือ 6 รอบ สกย. ได้มีกิจกรรมปลูกไม้ป่าในสวนยางเพื่อเพิ่มไม้ใช้สอย คาดว่าจะมีไม้ป่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 ล้านต้น ซึ่งจะช่วยลดการบุกรุกพื้นที่ป่าได้เป็นอย่างดี อันเป็นการช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติอีกทางหนึ่ง สอดคล้องกับพระราชดำริของพระองค์ท่าน และจะเป็นก้าวใหม่อีกก้าวหนึ่งของ สกย. ในทศวรรษต่อไป


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.