หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

บิดาแห่งยางพาราไทย

“ความร่ำรวยในอาชีพด้านการเกษตรนั้น คือ ความร่ำรวยของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป
และนั่นก็คือความมั่นคงของชาติอันเป็นส่วนรวม”


ข้อความข้างต้นนี้  เป็นคำกล่าวของ  พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาล  มณฑลภูเก็ต
 นักปกครองผู้มองการณ์ไกล ที่มีความคิดริเริ่มในทางทำนุบำรุงบ้านเมืองความเป็นอยู่ของราษฎรตลอดจน เพียรพยายาม
ที่จะสร้างงานด้านการเกษตรให้กับประชาชนทุกเวลา ท่านจะต้องนำเอาวิธีการใหม่ที่ได้พบเห็นมาแนะนำและส่งเสริม
ให้ราษฎรยึดถือไปปฏิบัติ

ทุกครั้งที่มีโอกาสเดินทางไปดูงานในต่างประเทศเช่น เมื่อไปดูงานประเทศชวากลับมา ก็ได้แนวความคิด
ที่จะใช้ประสานประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยตรงทั้งในด้าน  การเกษตรกรผู้ผลิต และด้านความสะดวก
ในการซื้อหาของผู้บริโภค สิ่งนั้นคือ  "ตลาดนัด" โดยประกาศให้ราษฎรพ่อค้าแม่ค้าต่างตำบล นำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่าย
และแลกเปลี่ยนกัน ที่ตลาดนัดซึ่งได้หมุนเวียนสับเปลี่ยนทั่วทุกตำบลเป็นผลให้ผู้คนต่างท้องถิ่น ได้ไปมาหาสู่ต่อกันมากขึ้น

 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประเทศไทยผลิตส่งออกตลาดโลกเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากอินโดนีเซีย
และมาเลเซีย นั้นก็เป็นผลงานชิ้นหนึ่งจากความริเริ่มความพยายาม และความตั้งใจจริงของพระยารัษฎา ฯ เมื่อ 80  ปี
ที่แล้วมา อีกเช่นกัน

 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี มหาอำมาตย์โท
    พระยารัษฎาประดิษฐ์  มหิศรภักดี
สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
     มีชื่อเดิมว่า    คอซิมบี้ ณ ระนอง   เป็นบุตรคนที่ 4   ของ
     พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซู้เจียง)    ต้นสกุล ณระนอง
     ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง คนแรกมารดาชื่อ กิ้ม   เกิดที่จังหวัดระนอง
     เมื่อ พ.ศ. 2400   เมื่ออายุได้ 12 ขวบ คือ พ.ศ. 2412 ได้ติดตาม
     บิดาไปประเทศจีน ในโอกาสที่บิดาไปพักผ่อนและทำบุญให้กับบรรพบุรุษ
     ณ มาตุภูมิ  จึงมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ณ  จังหวัดเจียงจิวบ้าง แล้วกลับมาอยู่ 
      จังหวัดระนองช่วยบิดาทำงานตามเดิม

พ.ศ.2425 หลังจากบิดาถึงอนิจกรรม พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี      (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย ได้นำถวายตัวเป็น มหาดเล็กใน
     รัชกาลที่  5  และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  พระราชทานสัญญาบัตร 
     เป็นที่พระอัสดงคตทิศรักษา ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี

พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ
    หัวเมืองปักษ์ใต้ ถึงเมืองระนอง กระบุรี ทรงเห็นว่าพระอัสดงคตทิศรักษา
    (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มีความสามารถจัดการปกครอง เป็นที่พอพระหฤทัย 
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไป ดำรงตำแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ควนธานีแทนพระยาตรังภูมิภิบาล (เอี่ยม ณ นคร) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯไปเป็น
เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับเลื่อนยศจากพระอัสดงคตทิศรักษา เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต มีขอบข่ายการปกครอง 7 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตะกั่วป่า
จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แทน คือ พระสถล สถานพิทักษ์
(ยู่เกี๊ยด ณ ระนอง) บุตรบุญธรรมของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่ง
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยนั่นเอง

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรม ที่บ้านจักรพงษ์ ปีนัง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456 มีอายุได้ 56 ปี
หลังจากถูกหมอจันทร์ บริบาล แพทย์ประจำจังหวัดลอบยิงด้วยปืนพก (เบรานิง) ที่สะพานเจ้าฟ้า ท่าเรือกันตัง ได้ 45 วัน

กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย

        ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน
ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง
แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น
จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา
หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือ
ส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

         ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง
จังหวัดตรังซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่น
แรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือ
ผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

          จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วน
แต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย
และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา”

         ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสน
ครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ   รองลงมาจากข้าว    ทำรายได้ให้กับประเทศ   ปีละนับหมื่นล้านบาท    พระยา
รัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้

       จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของชาวบ้านกล้า
ลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น
และประเทศชาติอย่างมากมายทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุนและมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยนโดยไม่ให้ส่วนรวมเสียเปรียบ
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์มหาศาล มากกระทั่งทุกวันนี
      อนุสาวรีย์ หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้นที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยงจังหวัดตรังและทำ
พิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช   2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้วถนนสายต่าง ๆ ทั้งใน
ภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎาถนนรัษฎานุสรณ์เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้
เยาวชนรุ่นหลังระลึกถึงตลอดไป

 




Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.