หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

การเตรียมพื้นที่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยาง
1. เป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ควรเกิน 600 เมตร
2. เป็นพื้นที่ราบหรือมี ความลาดเอียงต่ำกว่า 35 องศา ถ้าความ ลาดเอียงเกิน 15 องศา ต้องทำขั้นบันได และ ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกัน การชะล้างหน้าดิน
3. ไม่เป็นแหล่งที่มีน้ำท่วมขัง

ลักษณะดินที่เหมาะสม
1. เป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย
2. เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
3. หน้าดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร และไม่มีชั้นหินแข็งหรือดินดาน
4. ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า 1 เมตร
5. การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี
6. มีค่าความเป็นกรด ด่าง ที่เหมาะสมประมาณ 4.5 - 5.5

การวางแนวปลูก
1.
การวางแนวปลูกในพื้นที่ราบ


-
วางแถวหลัก ห่างจากแนวเขตสวนไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร

- เล็งแนวปลูก โดยกำหนด ให้แถวหลักขวาง ทางน้ำ ไหลลดการชะล้าง และพังทลายของดิน

- ควรปลูกให้อยู่ในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก ไม่ขวางทิศทางลม





2. การวางแนวปลูกในพื้นที่ลาดเท
วางแนวปลูกตาม ขั้นบันได ให้ความกว้าง ไม่ ต่ำกว่า 1.5 เมตร
ควรทำทางระบายน้ำเป็นระยะสลับกันไป
ขั้นบันไดล่าง ๆ ควรให้มีระยะของขั้นบันไดถี่ ๆ เพื่อ ลดความรุนแรง ของกระแสน้ำ

การวางแนวปลูก
พื้นที่ราบ
เขตปลูกยางเดิม
- ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 2.5 x 8 ม. (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3 x 7 ม. (76 ต้นต่อไร่) ขึ้นอยู่กับ   ชนิดของพันธ์ยาง
- ไม่ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 4 x 5 ม. (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3.5 x 6 ม. (76 ต้นต่อไร่) ขึ้นอยู่กับ   ชนิดของพันธ์ยาง

เขตปลูกยางใหม่
- ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 2.5 x 7 ม. (91 ต้นต่อไร่)
- ไม่ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 3 x 6 ม. (89 ต้นต่อไร่)

พื้นที่ลาดเทหรือพื้นที่ควนเขา
- ใช้ระยะปลูก 3 x 8 ม. (67 ต้นต่อไร่)

การเตรียมหลุมปลูก




ไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืช ออกไห้หมด

ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ให้ขุดด้านใดด้านหนึ่ง ของไม้ ชะมบตลอดแนว โดยแยกดิน ที่ขุดเป็น 2 กอง คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง ผึ่งแดดไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ดินแห้ง

ย่อยดินชั้นบนใส่รองก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่าง ผสมกับปุ๋ยหิน ฟอสเฟต หลุมละ 170 กรัม ในแหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นละ 5 กก. รองก้นหลุมร่วมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต

การขุดหลุมในพื้นที่ลาดเทหรือควนเขา เมื่อปักไม้ ชะมบ แล้วควร ขุดหลุมเยื้อง ไปด้านในควนเล็กน้อย เมื่อปลูกยาง ไปแล้วอาจ ต้องแต่งชานเพิ่มเติม โดยขุดดินบนควนมากลบ ด้านนอก จะทำให้ต้นยางอยู่กลาง ขั้นบันไดพอดี







ที่มา :
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 1:2544
 สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง, การปลูกยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 4:2545


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.