หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

การปลูก
-
วัสดุปลูก
- วิธีการปลูก
- พันธุ์ยาง

ต้นตอตา หมายถึง ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดี แต่ตายังไม่แตกออกมา มีแผ่นตาและตาที่เป็นตุ่มติดอยู่เท่านั้นขุดถอนแล้วตัดต้นเดิมเหนือแผ่นตาขึ้นไปไม่น้อยกว่า 8 ซม.เพื่อนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้ว

ต้นยางชำถุง หมายถึง วัสดุปลุกที่ได้จากการนำเอาต้นตอตามาชำในถุง โดยใช้เวลาชำถุง ในถุงประมาณ 2-3 เดือนจนได้ต้นยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร มีสภาพ พร้อม ที่จะนำไปปลูกในแปลงได้ ขนาดถุง ที่ใช้ชำ คือ 5 X 15 นิ้ว สีดำเจาะรูขนาด3มม. ประมาณ 3 แถว ๆ ละ 5-7 รู

วิธีการปลูก ให้ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน

1. ปลูกด้วยต้นตอตา
- เลือกต้นตอตาที่สมบูรณ์ ตานูนโตเห็นเด่นชัด
- กลบหลุมที่เตรียมไว้แล้ว ใช้ไม้ปลายแหลม ขนาดเล็กกว่า
ต้นตอ เล็กน้อย แทงกลางหลุมให้ลึกเท่า ความยาวของราก
- นำต้นตอมาปักตามรอยแทง ให้แผ่นตาอยู่แนวเหนือ - ใต้
และอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 1 ซม.
- กลบดินจนเสมอปากหลุมอัดดินให้แน่น โดยให้ดินบริเวณ
โคนยางสูงกว่าเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำขังในหลุม
- คลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือเศษพืชคลุม หรือเศษวัสดุ
คลุมดินที่ หาง่าย ในท้องถิ่น
2. ปลูกด้วยยางชำถุง
- ใช้ต้นยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร ควรเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช
- ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม
- ใช้มีดเฉือนก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว แล้วกรีดด้านข้างถุงให้ขาดจากกัน แต่ยังไม่ดึงถุงออก
นำไปวาง ในหลุม ทยอยกลบดินลงหลุม จนเกือบเต็มหลุม แล้วดึงถุงพลาสติกออก อย่าให้ดิน
ในถุ งพลาสติกแตกกลบดินจนเสมอปากหลุม และอัดดิน ให้แน่นให้โคนต้นยางสูงกว่าเล็กน้อย
เพื่อมิให้น้ำขังในหลุม

พันธุ์ยาง
การเลือกพันธุ์ยาง
- เลือกพันธุ์ยางที่มีความต้านทานต่อโรคระบาดในท้องถิ่น
- เลือกพันธุ์ยางควรพิจารณาถึงลักษณะภูมิประเทศ เช่น พื้นที่ที่มีลมแรง เลือกพันธุ์ที่ต้านทาน แรงลมได้ดี
- เลือกพันธุ์ยางให้เหมาะกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกต้องเหมาะสมกับความลึกของหน้าดิน
- พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกต้องเหมาะสมกับสภาพความลาดชันของพื้นที่
- พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกต้องเหมาะสมกับระยะปลูก

พันธุ์ยางที่แนะนำ
RRIT 251 สงขลา 36 BPM 24 PB 255 PB 260 PR 255 RRIC 110 RRIM 600

- RRIT 251 link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/rrit251.htm
- สงขลา 36 link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/sk36.htm
- BPM 24 link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/bpm24.htm
- PB 255   link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/pb255.htm
- PR 255   link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/pr255.htm
- RRIC 110 link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/rric110.htm
- RRIM 600 link ไปที่ http://www.rubberthai.com/information/yeen/no01/rrim600.htm

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544
สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.