หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

การใช้ปุ๋ยในสวนยาง
http://www.rubberthai.com/information/Urai/fert_index.htm

ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
- เขตปลูกยางเดิม ใช้สูตร 20-8-20
- เขตปลูกยางใหม่ ใช้สูตร 20-10-12

ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
- ทุกเขตปลูกยาง ใช้สูตร 30-5-18
- เขตปลูกยางเดิม และเขตปลูกยางใหม่ ใส่ปุ๋ยครั้งละ 500 กรัมต่อต้น ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใส่ต้นฤดูฝน หลังยางผลัดใบในขณะที่ยังเป็นใบเพส ครั้งที่สอง ใส่ก่อนใบยางจะแก่

การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
- แม่ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้ เป็นแม่ปุ๋ยที่สะดวกในการจัดซื้อและราคาถูก ได้แก่ DAP (18-46-0) MOP (0-0-60) และ ยูเรีย (46-0-0)

ตัวอย่างการผสมปุ๋ยสูตรต่าง ฯ
ใช้เอง จำนวน 100 กิโลกรัม จากแม่ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด

สูตรปุ๋ย
DAP (18-46-0)
DAP (18-46-0)
DAP (18-46-0)
20-8-20
18
34
38
20-10-12
22
20
36
30-5-18
10
30
60

ปุ๋ยผสมใช้เองไม่แนะนำให้ใช้สารตัวเติม
การตัดแต่งกิ่ง



ตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน

ตัดกิ่งแขนงให้ชิดลำต้นในระดับต่ำกว่า 2 เมตร เริ่มตั้งแต่ยาง อายุประมาณ 1 ปี

สภาพท้องที่แห้งแล้ง ควรตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 1.7 เมตร

ใช้กรรไกร ตัดให้ชิดกับลำต้น ไม่ควรใช้มีดตัดหรือสับ

ไม่โน้มต้นยางลงมาตัดแต่ง เพราะจะทำให้ เปลือกแตก น้ำยางไหล หรือหักได้

ใช้ปูนขาว หรือปูนแดง หรือสี ทาบริเวณ แผลที่ตัด





การกำจัดวัชพืช
วัชพืชในสวนยางแบ่งออกเป็น วัชพืชทั่วไป และหญ้าคา
กำจัดได้หลายวิธี เช่น การใช้แรงคนถาก ไถพรวน ปลูกพืชคลุมดิน และใช้สารเคมี
http://www.rubberthai.com/information/eradicate/era_index.htm


การปลูกพืชคลุมดิน
ประโยชน์
ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ป้องกันการพังทะลายของดิน
ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
ลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช
พันธุ์พืชคลุมดิน
เป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ คาโลโปโกเนียม เซนโตรซิมา เพอราเรีย ซีรูเลียม
วิธีการปลูก
ปลูกแบบหว่าน ห่างจากแถวยาง 2 เมตร เหมาะกับสวนโล่งเตียนและเตรียมพื้นที่อย่างดี
ปลูกเป็นแถว ปลูกห่างกัน 2 เมตร 3 แถว เหมาะกับสวนที่ปลูกพืชแซมและสวนที่อยู่บนควนเขา
ปลูกแบบเป็นหลุม ระยะ 30 X 100 ซม. จำนวน 5 แถว เหมาะกับสวนที่มีวัชพืชขึ้นบ้างแล้วแต่ยังไม่หนาแน่น

http://www.rubberthai.com/information/grow/grow_index.htm

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544
สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.