หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

โรคและศัตรูที่สำคัญของยางพารา

โรคยางพารา
เกิดจากเชื้อสาเหตุ แบ่งตามลักษณะอาการของโรค ซึ่งทำให้ต้นยางมีอาการผิดปกติ ตามที่ต่างๆ ส่งผลกระทบ
ต่อการเจริญเติบโตของ ต้นยาง ได้แก่
โรคใบ และฝัก เช่น โรคใบร่วง และฝักเน่าจาก เชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้ง โรคใบจุดก้างปลาฯ
โรคลำต้น และกิ่งก้าน เช่น โรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า โรคราสีชมพ
โรคราก เช่น โรครากขาว โรครากแดง โรครากสีน้ำตาล
เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น โรคเปลือกแห้ง เกิดจากการกรีด เอาน้ำยางมากเกินไป โรคที่ปลายใบเหลือง อาจเกิด จากการขาดธาตุอาหาร

แมลงและศัตรูยาง
แมลงและสัตว์ต่างๆ ที่ทำความเสียหายให้แก ่ต้นยาง เช่น หนอนทราย ปลวก เพลี้ย และหนู

การป้องกัน และรักษา
เตรียมพื้นที่ปลูกยางให้ปลอดโรค โดยขุดทำลายตอยางเก่าออก
ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเชื้อราเป็นพืชร่วม หรือพืชแซมยาง
กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวยยาง เพื่อทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของ ศัตรูยาง และทำให้อากาศถ่ายเทได้
สะดวก เป็นการลดความชื้นในสวนยาง

ที่มา :สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร,เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา, พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544
สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545


โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุการเกิดโรค
เกิดจากการกรีดเอาน้ำยางมากเกินไป ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเปลือก ที่ถูกกรีดมีธาตุอาหารมาหล่อเลี้ยง ไม่เพียงพอ จนทำให้เปลือกยางบริเวณนั้น
แห้งตาย
ลักษณะอาการของโรคที่เกิด
อาการระยะแรก สังเกตได ้จากการ ที่ความเข้มข้นของน้ำยางจางลง หลังการกรีดเปลือกยาง จะแห้งเป็นจุด ๆ อยู่ตาม รอยกรีด ระยะต่อมา เปลือกที่ยังไม่ได้กรีดจะแตกแยกเป็นรอย และ ล่อนออก ถ้ากรีดต่อไป เปลือก
ยางจะแห้งสนิท ไม่มีน้ำยางไหล ออกมา
การป้องกันรักษา
1. หยุดกรีดยางนั้นประมาณ 6-12 เดือน จึงทำการเปิดกรีด หน้าใหม่ ทางด้าน ตรงข้าม หรือ เปิดกรีดหน้าสูง
2. อย่ากรีดยางหักโหม ควรกรีดยางตามคำแนะนำ

หนอนทราย (grub of cockchafers)
ลักษณะการทำลาย
หนอนทรายเป็นตัวอ่อนของด้วงชนิดหนึ่ง รูปร่างเหมือนตัวซี (C) ขนาดลำตัวยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
สีขาว หนอนทรายกัดกินรากยาง จนราก ไม่สามารถดูดหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ ทำให้พุ่มใบยาง มีสีเหลืองผิดปกติ
ต้นยางตาย เป็นหย่อม ๆ พบมากในแปลงต้นกล้ายาง ที่ปลูกในดินทราย
การป้องกันกำจัด
ใช้วิธีเขตกรรม และวิธีกล โดยปลูกพืชล่อแมลง เช่น ตะไคร้ มันเทศ และข้าวโพด รอบต้นกล้ายางที่ปลูก
ใหม่ แมลงจะออกมาทำลายพืชล่อ หลังจากนั้น ให้ขุดพืชล่อจับแมลงมาทำลาย หรือ ใช้สารเคมี เอ็นโดซัลแฟน +
บีพีเอ็มซี (4.5 %จี) ในอัตราไร่ละ 5 กิโลกรัม โรยรอบ ๆ ข้างต้นยางแล้วกลบดิน หรือ ใช้ คลอเดนในอัตรา 40-80 ซีซี
ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดรอบ ต้นยาง ที่ถูกหนอนทรายกัดกิน และต้นยางข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร

ปลวก (termites)
ลักษณะการทำลาย
ปลวกมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่กินเนื้อไม้ที่ตายแล้ว ซึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อต้นยาง และ ชนิดกินเนื้อไม้สด ซึ่งจะ
กัดกินราก และภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้พุ่มใบยาง มีสีเหลืองผิดปกติ ต้นยางเสียหาย ถึงตายได้ การป้องกัน
กำจัดใช้ สารเคมีคลอเดน ในอัตรา 125-175 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดรอบต้นยาง ที่ถูกปลวกทำลาย และต้นยางข้าง
เคียงต้นละ 1-2 ลิตร

ที่มา : สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.