หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
 

การเปิดกรีด
การเปิดกรีด link ไปที่ FILE วิธีปฏิบัติในการเปิดกรีดหน้ายาง
โดยทั่วไปต้นยางเปิดกรีดได ้เมื่ออายุประมาณ 7 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดินต้นยางในสวนต้องมีขนาดเปิดกรีดได้มากกว่า 70 % ของยางทั้งหมดเปิดกรีดครึ่งลำต้นที่ระดับความสูง 150เซนติเมตร จากพื้นดิน รอยกรีดทำมุม 30 องศากับแนวระนาบ และเอียง จากซ้ายบน ลงมาขวาล่างติดรางรองรับน้ำยาง ห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวด รับถ้วยน้ำยาง ให้ห่าง จากราง รับน้ำยางลงมาประมาณ 10เซนติเมตรถ้าไม่กรีดยางควรคว่ำถ้วยไว้เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรก ตกลงไปใน ถ้วยรับน้ำยาง

การกรีดยางและระบบกรีด
การกรีดยางในระยะ 3 ปีแรก ระบบกรีดที่เหมาะสมควรเป็น
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) ใช้กับยางทุกพันธุ์
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2 S d/ 2) ยกเว้นพันธุ์ RRIM 628 PB 28/59 และ PB 5/63
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5 % เหมาะ สำหรับ ยางที่ให้ ผลผลิตต่ำใน ระยะแรกของการกรีด

การกรีดยางหลังจาก 3 ปี ไปแล้ว ระบบกรีดที่เหมาะสมควรเป็น
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) เหมาะกับพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2 S d/ 2) ใช้กับยางทุกพันธุ์ ยกเว้นพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3)ร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง เหมาะกับยางที่ให้ผลผลิตต่ำ

การกรีดเปลือกงอกใหม่
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2 S d/ 2)ใช้กับยางทุกพันธุ์
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) ใช้กับยางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสามวัน (1/2 S d / 4) หรือกรีดครึ่งต้นวัน เว้นสองวัน (1/2 S d/ 3)ร่วมกับสารเคมี เร่งน้ำยาง

ระบบกรีดสำหรับชาวสวนขนาดเล็ก
เพื่อแก้ปัญหาและลดความสูญเสีย เนื่องจากชาวสวนไม่สามารถ ปฏิบัติตามคำแนะนำ เพราะ มีความจำเป็น หลายประการ บังคับอยู่ ฉะนั้นเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อน จึงอนุโลมให้ชาวสวน ขนาดเล็กปฏิบัติดังนี้
สวนยางที่มีเนื้อที่น้อยกว่า 10 ไร่ อนุโลมให้กรีดระบบครึ่งลำต้นสองวันเว้นวัน (1/2 S.2d/3) แต่จำนวน วันกรีดยาง ไม่ควรเกิน 160 วัน/ปี
สวนยางที่มีเนื้อที่มากกว่า 10 ไร่ ควรกรีดตามระบบ ที่แนะนำ

ผลเสียหายของยาง RRIM600 ระยะเวลากรีด 9 ปีที่กรีดยางระบบหนึ่งในสามลำต้น กรีดทุกวัน (1/3s.d/1)
ผลผลิต (ต้น/ครั้งกรีด) เป็น 63% ของการกรีดระบบ 1/2S. d/2 หรือ
ให้ผลผลิต (5 ไร่ หรือ 1 งานกรีด/วัน) เป็น 65% ของการกรีดระบบ 1/2S.d/2
เปลือกงอกใหม่ หนา 93% ของระบบกรีด 1/2 S.d/2
ความสิ้นเปลืองเปลือก เป็น 206% ของระบบกรีด 1/2S.d/2 มีผลให้อายุการให้ผลผลิตลดลง
ต้นยางเป็นโรคเปลือกแห้ง 8.3% ในขณะที่ 1/2 S.d/2 เป็นเพียง 1.7% เท่านั้น

การเก็บน้ำยางและการรักษาน้ำยางสด
หลังจากกรีดเสร็จแล้ว ประมาณ 3-4 ชม. เมื่อน้ำยางหยุดไหลก็สามารถ เก็บรวบรวมน้ำยาง เพื่อนำไปทำเป็น ยางแผ่นดิบ หรือขายในรูปน้ำยางสด หากมีความจำเป็น ต้องเก็บน้ำยางไว้เป็น เวลานาน ก่อนนำไป แปรรูปควรใช ้สารกันบูด เพื่อป้องกัน น้ำยางจับตัว

ข้อควรระวังในการกรีดยาง
หมั่นลับมีดกรีดยางให้คม อยู่เสมอเพื่อให้กรีดเปลือก ได้บางไม่ต้องออกแร และหลีกเลี่ยงบาดแผลที่ทำให้ หน้ายาง เสียหาย
เปลือกที่กรีดแต่ละครั้งไม่ควรหนาเกิน 2.5 มิลิเมตร
ควรกรีดไม่เกิน 500 ต้น/คน/วัน
หยุดกรีดยางต้นที่เป็นโรคเปลือกแห้ง จนกว่าจะหาย
หยุดกรีดเมื่อต้นยางผลัดใบ
หยุดกรีดเมื่อต้นยางเป็นโรคหน้ายาง
กรีดให้ลึกใกล้เนื้อไม้มากที่สุด แต่อย่าให้ลึกถึงเนื้อไม้ เพราะจะทำให้เปลือกที่งอกใหม่เป็นปุ่มปม


ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544
สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545

การวัดขนาดของต้นยาง
ใช้เชือกยาว 50 เซนติเมตร วัดขนาด ของต้นยาง ในช่วงความสูง จากพื้นดิน 150 เซนติเมตร หากปลายเชือกทั้งสอง ไม่ซ้อนกันก็แสดงว่า ต้นยางได้ขนาด 50 เซนติเมตร หรือโตกว่า แสดงว่าเปิดกรีดได้

การวัดความสูงของรอยกรีด
โดยตั้งไม้เปิดกรีดให้แนบสนิทกับต้นยาง ให้ปลายที่ไม่ม ีแผ่นสังกะสีตั้งอย ู่บนพื้นดิน แผ่นสังกะสี หันปลายไปทาง ซ้ายมือ บังคับรอยต่อ ระหว่างไม้ กับแผ่นสังกะสีให้อยู่คงที่

การทำไม้เปิดกรีด
- ตัดไม้ระแนงความยาวตามความสูงของรอยเปิดกรีด (150,100,75 หรือ 50 เซนติเมตร) ปลายด้านหนึ่งตัดเป็น
มุม 30 องศา กับแนวระดับ
- ใช้ตะปูตอกแผ่นสังกะสีติดกับไม้ตามแนวเฉียงที่ตัดไว้ แผ่นสังกะสีใช้ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร
- ใช้เชือกฟางยาว 50 เซนติเมตร โดยแบ่งครึ่งผูกติดกับตะปูบนแผ่นสังกะสีที่ตอกติดไว้ ครั้งแรก

การทำรอยกรีด

กดแผ่นสังกะสีให้แนบกับต้นยางตามแนวลาดเอียง ของแผ่นสังกะสี แล้วใช้ชอล์ก หรือตะปู ทำเครื่องหมาย บนต้นยาง ตามแนวด้านบน ของแผ่นสังกะสีลงมา ตามแนวไม้เปิดกรีด จะได้รอยกรีด และรอยแบ่งครึ่งด้านหน้า หรือทางไหล ของน้ำยาง

การวัดความยาวของรอยกรีด
กรีดครึ่งต้น นำเชือกอีกเส้นโอบรอยต้นยางแล้วนำมาพับแบ่งครึ่ง ซึ่งจะได้ความยาว ครึ่งหนึ่งของลำต้น นำเชือก ที่พับครึ่งมาทาบ กับต้นยาง โดยปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงรอย แบ่งครึ่งด้านหน้าและทำมุมฉาก กับรอยแบ่งครึ่ง ทำเครื่องหมาย ตรงจุดที่ 1 และเลื่อนต่ำลงมาตรงจุดที่ 2

การทำรอยแบ่งครึ่งด้านหลัง
ลากเส้นตรงจากรอยกรีดผ่านจุดที่ 1 และ 2 จะได้รอยแบ่งครึ่งด้านหลัง

การติดรางรองรับน้ำยางและลวดรับถ้วยน้ำยาง
ติดรางรองรับน้ำยางห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 25-30 เซนติเมตร และติดลวด รับถ้วยน้ำยาง โดยห่างจากรางรองรับน้ำยาง ลงมาประมาณ 10 เซนติเมตร

ตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้จากวิธีทำเครื่องหมายเพื่อหมายเพื่อเปิดกรีดหน้ายาง คือ
ความสูงของรอยกรีด 150, 100, 75, หรือ 50 เซนติเมตร
ความลาดเอียงของรอยกรีด 30 องศากับแนวระดับ
ขนาดของต้นที่จะเปิดกรีดวัดที่ความสูง 150 เซนติเมตร ได้ไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร
ความยาวของรอยกรีดครึ่งลำต้น
ระยะจากรอยกรีดถึงรางรองรับน้ำยางประมาณ 25-30 เซนติเมตร ระยะจากรางรองรับน้ำยาง ถึงปากถ้วย ประมาณ 10 เซนติเมตร

เรื่องที่ควรทราบเพื่อการกรีดยางที่ดี

การเปิดกรีดครั้งแรก
หลังจากที่ทำรอยและเครื่องหมายต่างๆ เรียบร้อยแล้ว การเปิดกรีดตามรอยกรีด เป็นมุม 30 องศา ครั้งแรก ควรกรีดให้ลึกพอที่น้ำยาง จะซึมออกมา ในวันที่สอง ก็กรีดให้ลึกลงไปอีก การกรีด 2 วันแรก ก็เป็นเสมือนเตือนต้นยาง และในวันที่ สาม ก็กรีดให้ลึกพอดี ที่จะเอาน้ำยางได้

ความสูงของรอยกรีด
ความสูง โดยทั่วไป จะเปิดกรีดที่ความสูง 150 ซม. แต่สามารถเปิดกรีดในระดับที่ต่ำกว่านี้ เช่น ที่ความสูง 100 ซม. ก็ได้ เพราะจะสะดวก และง่ายโดยเฉพาะ กับแรงงานกรีดยางที่ยังไม่เชี่ยวชาญมากนัก การเปิดกรีดที่ระดับต่ำ จะทำให้ผลผลิต เพิ่มขึ้น
เปิดกรีดที่ความสูง 100 เซนติเมตร ผลผลิตเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์
เปิดกรีดที่ความสูง 75 เซนติเมตร ผลผลิตเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์
เปิดกรีดที่ความสูง 50 เซนติเมตร ผลผลิตเพิ่มขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์

การเปิดกรีดที่ระดับความสูง 50 เซนติเมตร ในหน้ากรีดแรกจะต้องกรีดให้ได้อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี และการเปิดกรีดหน้าที่ 2 จะต้องเปิดกรีดที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร อนึ่ง การเปิดกรีด ที่ตำแหน่งใดก็ตาม ต้นยางต้องได้ขนาด 50 ซม.ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 ซม. เสมอ

ทิศทางการกรีด
พันธุ์ยางโดยทั่ว ๆ ไป จะต้องกรีดจากซ้ายลงมาขวา เพราะเป็นการกรีดที่ตัดท่อน้ำยางได้เป็น จำนวนมากที่สุด โดยท่อน้ำยาง จะไหลเวียนจาก ขวาบนมาซ้ายล่าง โดยทำมุมเอียง ประมาณ 3 องศา การกรีดผิดทิศทาง จะทำให ้ผลผลิต ลดลง 8-10%

มุมกรีดที่พอเหมาะ
มุมกรีดควรมีความลาดเอียงประมาณ 30 องศา (สำหรับยางติดตา) และ 25 องศา สำหรับต้นกล้ายาง การกรีดที่ทำมุม 40-45 องศา แม้จะทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น ขี้ยางบนรอยกรีดจะเหลือน้อย (บาง) ลง แต่จะทำให้จำนวนต้นที่กรีด ได้น้อยลง (ในเวลาที่เท่ากัน) และในระดับต่ำลงมาจะทำให้กรีดลำบาก การสิ้นเปลืองเปลือกจะมากด้วยเช่นกัน

การกรีดแบบกระตุกมีด
การกรีดแบบดั้งเดิมจะเป็นวิธีลากด้วยท่อนแขน ซึ่งมักจะทำให้การกรีดช้า ขี้ยางมักจะยาวและใหญ่หนา เวลากรีดบาด ก็จะบาดแผลยาวมากกว่า การกรีดที่ถูกหลักวิชา โดยการกระตุกมีดหรือกระตุกข้อมือ ซึ่งจะง่าย เบามือ และกรีดได้เร็วกว่า และทำให้ได้น้ำยางมากกว่า เพราะการกระตุกมีด เป็นการเฉือนเปลือกยาง ของคมมีดที่เร็วกว่าการลาดด้วยท่อนแขน

ความลึกในการกรีด
ต้องกรีดให้ลึกมากที่สุด แต่ต้องไม่ถึงเยื่อเจริญ ควรห่างจากเยื่อเจริญประมาณ 0.5-1.0 มม. ทั้งนี้เพื่อให้ได้น้ำยางมากที่สุด การกรีดถึงเยื่อเจริญพอดีหรือกรีดบาด (ไม่มีชั้นของเปลือกยางเหลือปิดเยื่อเจริญ) ในหน้าแล้ง อาจเสี่ยง ต่อการที่เนื้อเจริญแห้งตาย และในหน้าฝน อาจเสี่ยงต่อการเข้าทำลาย ได้อย่างง่ายของเชื้อราที่ เป็นสาเหตุของโรคหน้าเปื่อยและโรคเส้นดำ

ความหนาบางของการกรีด
การกรีดขี้ยางบางเกินไป ก็ไม่สามารถให้น้ำยางได้มากที่สุดได้ ในขณะที่การกรีดขี้ยางหนาเกินไป ก็ทำให้สิ้นเปลืองเปลือก ความหนาบาง ของขี้ยาง ในการกรีดแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 1.2-1.7 มม. หรือ 2.5 ซม./เดือน หรือ 150 ซม./5 ปี หากกรีดได้ตามนี้จะสามารถกรีดได้นาน 25 ปี

ช่วงเวลากรีด
การกรีดในช่วงที่มีอุณหภูมิของอากาศต่ำ เพราะจะทำให้ระยะเวลาของการไหลของน้ำยางยาวนานก่อนที่จะแข็งตัวและหยุดไหล ซึ่งก็จะทำให้ได้น้ำยางมาก โดยทั่วไปชาวสวนยังนิยมกรีดยางในเวลากลางคืน เช่น ในเวลา 01.00-04.00 น. แต่อย่างไร ก็ตามสามารถกรีดตอนเช้าตรู่ (06.00 น.) ได้เช่นกัน โดยผลผลิตอาจต่ำกว่าเพียง 4-5% เท่านั้น แต่ก็สามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายด้านอื่นลงได้ เช่น ตะเกียงแก๊ส, ถ่ายหิน นอกจากนี้ก็ยังลดอันตรายต่าง ๆ ไม่ว่าจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้ายและยังเป็นผลดีต่อสุขภาพ เพราะได้ นอนหลับพักผ่อน เต็มที่ไม่ต้องตื่นตอนดึก ๆ เพื่อลุกขึ้นมาทำงานหนัก

ความยาวของรอยกรีดและความถี่ในการกรีด
เรื่องความยาวของรอยกรีดและความถี่ในการกรีดนี้ ในทางวิชาการเรียกว่า "ระบบกรีด" นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากกรีดถี่เกินไปเช่น 3-4 วันเว้น 1 วัน และใช้รอยกรีดยาวครึ่งต้นก็อาจทำให้ต้นยางในสวนมีอาการของโรคเปลือกแห้งมากขึ้น และทำให้การสิ้นเปลืองเปลือก เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเปลือกงอกใหม่ไม่หนาพอ เพราะมีระยะเวลาในการสร้างเปลือกน้อย


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.