หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
  น้ำยางสดจากสวนนำมา  แปรรูป  ได้หลากชนิดในรูปของน้ำยางข้น และยางแห้ง ได้แก่ ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรม
ควันยางเครพ ฯลฯ

ลักษณะของยางแผ่นคุณภาพดี
- ยางแผ่นสะอาด ไม่มีรอยคราบน้ำกรด หรือเหนียวเยิ้ม เมื่อยกส่องดู
- ต้องไม่มีสิ่งสกปรก หรือจุดด่างดำในเนื้อยางและไม่มีฟองอากาศ
- แผ่นบาง ความหนาของแผ่นเฉลี่ย 2.8 - 3.2 มิลลิเมตร แผ่นยางเป็น
- รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 40-45 เซนติเมตร ยาว 80-85 เซนติเมตร
- เนื้อยางแห้งใส สีของแผ่นยางสม่ำเสมอ สีเดียวกันตลอดทั้งแผ่น
- แผ่นยางมีลายดอกนูนชัด มีความยืดหยุ่น


 
ไม้ยางพารา
ในอดีตไม้ยางพาราถูกนำไปใช้ทำเป็นฟืนเผาถ่าน  หรือเผาทำลายทิ้ง  เนื่องจากขาดเทคโนโลยี  ในการรักษาเนื้อไม้และเทคนิคการผลิตที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มไม้ยางพาราเป็นไม้เศรษฐกิจมีจุดเด่นที่สำคัญ คือไม้ยางพาราถือเป็นไม้ป่าปลูก มิใช่ไม้ธรรมชาติเป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคตของประเทศไทย เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมีการปิดป่าทำให้สถานการณ์ขาดแคลนไม้เนื้อแข็งทวีความรุนแรงปี 2541 ประเทศไทยส่งออกไม้ยางพาราคิดเป็นมูลค่า22,289 ล้านบาท ปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 31,374 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น 41 %

ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
ผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น เครื่องใช้ทำด้วยไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลัก ไม้ปาร์เก้ ไม้พื้น ไม้นั่งร้าน ไม้ค้ำยัน
สำหรับการก่อสร้าง
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น เช่น ไม้แปรรูปเป็นแผ่นหนาเกิน 6 มิลลิเมตร แผ่นไม้วีเนียร์
ของเล่นไม้ประเภทประเทืองปัญญา
เชื้อเพลิง ได้แก่ ฟืนและถ่าน
เยื่อกระดาษ

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร , เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544 , สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา พิมพ์ครั้งที่ 4: 2545

การผลิตยางแผ่นคุณภาพด

การผลิตยางแผ่นคุณภาพดีนั้น มีหลักการง่ายๆ คือ ทำยางให้สะอาด รีดแผ่นยางให้บาง ใช้น้ำและน้ำกรดให้ถูกส่วน ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนการผลิต ดังนี้

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมน้ำยาง
เช็ดถ้วยยางให้สะอาดก่อนรองรับน้ำยาง ทำความสะอาดถังเก็บน้ำยางก่อนใช้ทุกครั้ง ไม่ควรใส่ขี้ยาง
และเศษไม้ลงในถังเก็บน้ำยาง จะทำให้ยางสกปรก จับตัวเป็นก้อนเร็ว กรองน้ำยางได้ยาก

ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องมือ
ต้องทำความสะอาดเครื่องมือทำยางแผ่นทุกชนิดก่อนและหลังการใช้งานแล้ว เนื่องจากความสะอาด
เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการผลิตยางแผ่นคุณภาพดี เครื่องมือทำยางแผ่นควรให้เปียกน้ำทุกครั้งก่อนใช้ เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดหลังใช้งานเสร็จ เครื่องมือที่จำเป็นในการทำยางแผ่น
-   เครื่อง กรอง ลวด เบอร์ 40 และ 60
-   ตะกง
-   ถัง สำหรับใส่น้ำและน้ำยาง
-   โต๊ะนวดยาง
-   เครื่อง รีดชนิดเรียบและชนิดดอก
-   โรง เรือนหรือเพิง อย่าง ง ่ายๆ
-   กระป๋อง ตวง น้ำยาง และน้ำ
-   ใบพายสำหรับกวนน้ำยาง
-   ภาชนะผสมน้ำกรด ขั้นตอนการกรองน้ำยาง
กรองน้ำยางด้วยเครื่องกรองลวด เบอร์ 40 และ 60 เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก โดยวางเครื่องกรองซ้อนกัน
2 ชั้น เบอร์ 40 ไว้ข้างบน และเบอร์ 60 ไว้ข้างล่าง

ขั้นตอนการตวงน้ำยางใส่ตะกง
ตวงน้ำยางที่กรองเรียบร้อยแล้วใส่ในตะกงที่สะอาด ตะกงละ 3 ลิตร

ขั้นตอนการผสมน้ำกับน้ำยาง
เติมน้ำสะอาดลงในตะกงที่ใส่น้ำยางไว้แล้วตะกงละ 2 ลิตร จะได้อัตราส่วนผสมระหว่างน้ำยางกับน้ำ
ในอัตราส่วน 3 : 2 ส่วน (อัตราส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากน้ำยางเจือจางบ้างแล้ว เช่น กรณีฝนตกขณะเก็บน้ำยาง)

ขั้นตอนการเลือกใช้น้ำกรดและการผสมน้ำกรด
เพื่อให้ยางแข็งตัวและได้ยางแผ่นคุณภาพดี ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ ควรเลือกใช้กรดฟอร์มิค
ชนิดความเข้มข้นร้อยละ 90 ซึ่งมีข้อดีคือยาง แผ่นแข็ง ตัวสม่ำเสมอ หากทำให้เจือจาง ด้วยน้ำสะอาดในอัตราส่วนที่ถูกต้อง
สามารถระเหยได้ไม่ตกค้าง ในแผ่นยาง และไม่ทำให้แผ่นยาง เหนียวเหนอะคุณสมบัติและความยืดหยุ่นของ
แผ่นยาง คง เดิมไม่ทำให้โรง เรือนและแผ่นยาง มีกลิ่นเหม็น  ยืดอายุการใช้ง านของ เครื่อง มือและอุปกรณ์ผลิตยาง แผ่น
การผสมกรดฟอร์มิค เพื่อให้ยางแข็งตัวในเวลา 30-45 นาที ใช้กรดฟอร์มิค 2 ช้อนแกงผสมน้ำสะอาด 3
กระป๋องนมข้นหวาน แล้วกวนให้เข้ากัน โดยใช้กรดเทให้น้ำที่เป็นภาชนะกระเบื้องเคลือบ หรือพลาสติก

ขั้นตอนการใช้น้ำกรดผสมน้ำยาง
ใช้ใบพายกวนน้ำยางในตะกง 2-3 เที่ยว จึงตวงน้ำกรดที่ผสมแล้ว 1 กระป๋องนมข้นหวาน เทลงในน้ำ
ยางให้ทั่วตะกง ขณะที่เทน้ำกรดใช้ใบพายกวนน้ำยางไปมาประมาณ 6 เที่ยว (กรดฟอร์มิค ชนิดความเข้มข้น 90 เปอร์เซ็น 1 ลิตร ทำแผ่นยางได้ประมาณ 90-100 แผ่น)

ขั้นตอนการกวาดฟองน้ำยาง
ขณะกวนน้ำยางจะมีฟองเกิดขึ้น ใช้ใบพายกวาดฟองออกจากตะกงให้หมด เก็บรวบรวมใส่ภาชนะ
เพื่อขายเป็นเศษยาง ถ้าไม่กวาดฟองน้ำยางออก เมื่อนำยางแผ่นไปรมควันจะทำให้เห็นเป็นรอยจุดอากาศในแผ่นยาง ยางที่ได้คุณภาพมักต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

ขั้นตอนการใช้วัตถุปิดตะกง
ควรใช้แผ่นสังกะสี หรือวัสดุอื่นปิดตะกงเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกตกลงไปในน้ำยางที่กำลังจะจับตัว ทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที

ขั้นตอนการนวดแผ่นยาง
เมื่อยางจับตัวแล้ว ก่อนนำไปนวดควรใช้น้ำสะอาดหล่อใส่ทุกตะกง เพื่อความสะดวกในการเทแท่ง
ยางออกจากตะกง การนวดยางควรนวดแผ่นยางบนโต๊ะที่สะดวก ซึ่งปูด้วยอลูมิเนียมหรือสังกะสี นวดด้วยมือหรือไม้กลม นวดยางให้หนาประมาณ 1 ซม.

ขั้นตอนการรีดแผ่นยางด้วยเครื่องรีดเรียบ
นำแผ่นยางที่นวดแล้วเข้าเครื่องรีดเรียบ 3-4 ครั้ง โดยให้แผ่นยางบางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

ขั้นตอนการรีดแผ่นยางด้วยเครื่องรีดดอก
หลังจากนำแผ่นยางเข้าเครื่องรีดเรียบแล้ว ก็นำแผ่นยางเข้าเครื่องรีดดอก เพื่อช่วยให้แผ่นยางแห้งเร็ว
ขึ้น เพื่อนำไปรมควัน

ขั้นตอนการล้างแผ่นยาง
แผ่นยางที่รีดดอกแล้ว ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อล้างน้ำกรดและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามผิวของแผ่น
ยางออกให้หมด

ขั้นตอนการผึ่งแผ่นยาง
ควรนำมาผึ่งไว้ในร่ม ไม่ควรนำไปผึ่งหรือตากไว้กลางแดด เพราะจะทำให้ยางแผ่นเสื่อมคุณภาพได้ง่าย
ขั้นตอนการเก็บแผ่นยางเพื่อรอจำหน่าย
หลังจากผึ่งยางแผ่นไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง ก็เก็บรวบรวมยางแผ่นโดยพาดไว้บนราวในโรงเรือนเพื่อรอ
จำหน่ายมาตรฐานคุณภาพยางแผ่นดิบ


   ยางแผ่นดิบคุณภาพ 1

-   แผ่นยาง มีความสะอาดและปราศจากฟอง อากาศตลอดแผ่น
-   มีความชื้นในแผ่นยาง ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซ็นต์
-   มีความยืดหยุ่นดี และมีลายดอกเด่นชัดตลอดแผ่น
-   บาง มีความหนาของ แผ่นไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
-   เนื้อยาง แห้ง ใส มีสีสวยสม่ำเสมอตลอดแผ่น สีเหลืองทอง
    เหลืองอ่อน
-   น้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 800-1,200 กรัม
-   แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 38-46 ซม. ยาว 80-90 ซม.




ยางแผ่นดิบคุณภาพ 2

-   แผ่นยาง มีความสะอาดตลอดแผ่น หรืออาจมีสิ่ง สกปรกและ
    ฟองอากาศอยู่ในแผ่นยาง ได้บ้าง เล็กน้อย
-   มีความชื้นในแผ่นยาง ไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
-   ความยืดหยุ่นดี มีลายดอกเด่นชัด
-   บาง มีความหนาของ แผ่นยาง ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
-   เนื้อยาง แห้ง มีสีสม่ำเสมอตลอดแผ่น ลักษณะสีค่อนข้างคล้ำหรือ
    อาจมีรอยด่าง ดำได้บ้าง เล็กน้อย
-   น้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 1,000-1,200 กรัม
-   แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 38-46 ซม. ยาว 80-90 ซม.
 

  ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3

-   แผ่นยาง มีความสะอาดหรืออาจมีสิ่งสกปรกและฟองอากาศ
    อยู่ในแผ่นยาง ได้บ้าง เล็กน้อย
-   มีความชื้นในแผ่นยาง ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
-   มีความยืดหยุ่นดี และมีลายดอกเด่นชัด
-   แผ่นยาง ค่อนข้าง หนา ความหนาของ แผ่นยาง ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
-   เนื้อยาง แห้ง มีสีคล้ำค่อนข้าง ทึบ ไม่โปร่ง ใสเท่าที่ควร
-   น้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่นไม่เกิน 1,500 กรัม
-   แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 38-46 ซม. ยาว 80-90 ซม.

ยางแผ่นดิบคุณภาพ 4

-   แผ่นยาง มีความสะอาดหรืออาจมี สิ่งสกปรกและฟองอากาศ
    อยู่ในแผ่นยาง ได้บ้าง
-   มีความชื้นในแผ่นยาง ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซ็นต์
-   มีความยืดหยุ่นดี มีลายดอกเด่นชัด
-   แผ่นยาง หนา มีความหนาของ แผ่นยาง ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
-   เนื้อยาง แห้ง มีสีทึมไม่โปร่ง ใส
-   มีหน้าหนักเฉลี่ยต่อแผ่นไม่เกิน 1,500 กรัม
-   แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 38-46 ซม. ยาว 80-90 ซม.

ที่มา :
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.