หน้าแรก | บุคลากรของ สกย.ตรัง | Site map | ติดต่อเรา   
         
รู้จัก สกย.
ประวัติความเป็นมาของ สกย.
ภาระกิจของสกย
พรบ.ของ สกย.
โครงสร้างของ สกย.ตรัง
คณะผู้บริการของ สกย.
ที่ตั้งของ สกย.ตรัง
กลับสู่หน้าหลัก
  การผลิตยางก้อนในเขตภาคตะวันออกสำหรับการผลิตยางแท่ง STR 20

ปัญหา
การผลิตยางแท่ง STR 20 ในประเทศไทย คือ มีต้นทุนสูง เป็นผลมาจาก ต้องสูญเสียเวลาและพลังงาน ในการจำกัด สิ่งสกปรกที่ติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ ได้แก่ ยางก้อนที่มีการผลิตไม่ได้คุณภาพ มีสิ่งสกปรกปนอยู่มาก นอกจากนี้ เกษตรกรที่ผลิตยางก้อนยังขายยางก้อนได้ราคาต่ำจึงได้ศึกษา วิธีการผลิต ยางก้อนที่เหมาะสม เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่ง และหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางก้อน ที่เป็นจริงหลังจากผึ่งยางก้อนไว้ ในระยะเวลาต่าง ๆ กัน เพื่อให้การประเมินราคายางก้อน ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

โดยการทดลองเบื้องต้น เพื่อหาอัตรากรดที่เหมาะสมที่ทำยางสมบูรณ์ พบว่า การใช้กรดอัตราต่ำ 0.4% ของเนื้อยาง ทั้งในกรดฟอร์มิคและซัลฟูริค ทำให้ยางจับตัวได้อย่างสมบูรณ์ และควรใช้ความเข้มข้น 2% เพื่อเกษตรกรใช้ได้ อย่างสะดวกและถูกต้องแม่นยำ ส่วนขนาดก้อนยาง ที่จับตัวได้อย่างสมบูรณ์ ในถ้วยรองรับน้ำยางไม่ควรเกิน 300 cc. ผลผลิตยางต่อครั้ง กรีดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 200 - 300 cc. ซึ่งเมื่อนำ ชนิดของกรด  2  ชนิด มาใช้ในการทดลอง จับตัวของยางก้อน คือ กรดฟอร์มิค และขนาดยางก้อน 4 ขนาด โดยให้จับตัวในถ้วยรองรับน้ำยาง 3 ขนาด คือ 100, 200, และ 300 cc. และจับตัวในตะกงขนาดยางก้อน 300 cc.

เมื่อระยะเวลาในการผึ่งยางเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์ความชื้นในก้อนยางลดลง โดยในวันแรกของการผึ่งก้อน ทำให้เปอร์เซ็นต์ ความชื้นในก้อนยาง ลดลงสูงสุด คือ เปอร์เซ็นต์ความชื้น ของยางก้อน ที่ทำให้จับตัวในถ้วยรองรับ
น้ำยางทั้ง 3 ขนาด ลดลง 12 - 16 % และหลังผึ่งยางก้อน 7 วันขึ้นไป ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น ลดน้อยมาก จนไม่แตกต่าง
ทางสถิติ หรือมีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางคงที่นั่นเอง ส่วนเปอร์เซ็นต์ความชื้น ยางก้อนที่ทำให้จับตัวในตะกง ลดลง 12 % ในวันแรกของผึ่งยางก้อนและเปอร์เซ็นต์เนื้อยางคงที่หลังผึ่งยางนาน 9 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นผลมาจาก บริเวณผิวของยางก้อนแห้งและเคลือบยางก้อน ทำให้ความชื้นที่มีอยู่เหลืออยู่ในยางก้อนไม่สามารถระเหยออกไปได้อีก เมื่อนำยางก้อนที่ผึ่งไว้ตามระยะเวลาต่าง ๆ ไปทำการประเมินราคา พบว่า การประเมินราคาของบริษัทผู้ผลิตยางแท่ง ใช้หลักการประเมินราคายางก้อนจากเปอร์เซ็นต์เนื้อยางด้วยสายตา ซึ่งราคาประเมินของยางก้อนที่ผึ่งไว้นาน 1-7 วัน ต่ำกว่าราคายางก้อนที่ควรจะได้จริง 0.50 - 1.00 บาท/กก. แต่ยางก้อนที่ผึ่งไว้นานเกิน 7 วันขึ้นไป ราคาประเมินยางก้อน ของบริษัทผลิตยางแท่ง ใกล้เคียงกับราคายางก้อน ที่ควรจะได้จริง ส่วนการประเมินราคาของพ่อค้ารับซื้อยาง พบว่า ราคายางก้อน ที่ประเมินต่ำกว่าราคา ควรที่จะได้จริง ประมาณ  5-6  บาท/กก. แต่ยางที่ไม่ได้ทำการผึ่งเลย คือ ขายในวันนั้น ทันที่ หลังจากทำเสร็จได้ราคาสูงกว่าราคาที่ควรได้

แต่ความเป็นจริงแล้ว เกษตรกร ไม่สามารถนำยางก้อน หลังจากทำเสร็จสิ้นไปขายได้ทันที อาจนำไปขายในวันรุ่งขึ้น เป็นอย่างเร็วที่สุด ซึ่งความชื้นยางก้อน ก็จะลดลงไปอย่างรวดเร็ว เช่นกัน ดังนั้น ถ้ามีการผลิตยางก้อน เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่งอย่างจริงจัง ควรใช้กรด ช่วยในการจับตัวของยางในอัตรา 0.4% ของน้ำยาง โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 2%

การซื้อขาย
ก็ควรมี การรวมกลุ่มกัน ของเกษตรกร เพื่อให้ได้ยางก้อน ที่มีปริมาณเพียงพอ ที่ส่งขายโรงงาน ผลิตยางก้อนโดยตรง และสามารถควบคุมคุณภาพยางก้อน ให้สม่ำเสมอ ตลอดจน ควรมีการรณรงค์ให้เกษตรกร มีทัศนคติในการผลิตยางก้อน ที่มีคุณภาพดี ซึ่งทำให้ขายยางก้อน ในราคาที่ยุติธรรม ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ในเรื่องของ ชนิดกรดที่ใช้ ในการจับตัวของยางก้อนพบว่า การทำให้ยางจับตัว ของกรดฟอร์มิค ทำให้น้ำที่เหลืออยู่ ในยางก้อน น้อยกว่าการใช้กรดซัลฟูริค และเมื่อระยะเวลาในการผึ่งยางมากขึ้น เปอร์เซ็นต์ความชื้นของยางก้อน ที่ทำให้จับตัวด้วยกรดซัลฟูริค ระเหยออกไปได้เร็วกว่า ยางก้อนที่ทำให้จับตัวด้วยกรดฟอร์มิค แต่หลังผึ่งยางเกิน 5 วันขึ้นไป การใช้กรดทั้ง 2 ชนิด ไม่ทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยาง แตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งเมื่อพิจารณา ราคากรดทั้ง 2 ชนิด กรดซัลฟูริค มีราคาต่ำกว่าราคากรดฟอร์มิคมาก แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพยางก้อน ที่ผลิตด้วยกรดซัลฟูริค น่าจะมีปริมาณซัลเฟอร์ ตกค้างมากกว่ายางก้อนที่ผลิตด้วยกรดฟอร์มิค ซึ่งนำไปผลิตเป็น ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยาง จะทำให ้เกิดความเสียหาย ต่อขบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง
ณพรัตน์ พิชิตชลชัย และคณะ , การผลิตยางก้อนในเขตภาคตะวันออก เพื่อการผลิตยางแท่ง STR 20
ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร 2541


Copyright 2004 by Trang Rubber All rights reserved.Suport by meDsign.